วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปลูกข้าวอินทรีย์ในบ่อซีเมนต์





       1.การปลูกเริ่มต้น ด้วยการเตรียมท่อปูนขนาด 50x50 เซนติเมตร (บ่อส้วม)

       2.ใส่ดินลงไปในบ่อให้มีความสูงขนาด 40 เซนติเมตร

       3.นำดิน 1 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยหมัก 1 กิโลกรัม เทลงไปบนหน้าดิน แล้วใส่น้ำให้เต็มบ่อแช่ดินไว้เพื่อกำจัดวัชพืช 15 วัน

      4.เมื่อครบกำหนด 15 วัน ให้ทำการใส่ปุ๋ยคอก แล้วนำข้าวมาปักต้นกล้า โดยปักบ่อละประมาณ 7 กอ ถ้ามากกว่านี้จะทำให้แน่นไป

      5.หลังจากปักดำครบ 15 วัน ให้ใส่น้ำเต็มบ่อ เพื่อให้มีความชุ่มชื้น60% และใส่ปุ๋ยคอกลงไป 1 กก./บ่อ ใส่ 15 วันต่อครั้ง

      6.เมื่อต้นข้าวสูง 50-60 เซนติเมตร ข้าวจะสมบูรณ์ อยู่ในช่วงข้าวตั้งท้อง หากมีใบเหลืองให้ใส่ปุ๋ยคอก 3 ขีดต่อ 1 บ่อ ตามด้วยการฉีดน้ำหมัก พด.2 และ พด.7 เพื่อป้องกันแมลง โดยเบื้องต้นการป้องกันแมลงให้นำมะกรูดมาผ่าเป็นซีกแล้วนำไปลอยน้ำในบ่อไว้ เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของหนอน แมลง

     7.ในการเก็บผลผลิตข้าว ให้เก็บรวงข้าวโดยการเด็ดชุดแรกตรงป้องแรกของรวงข้าว ต่อ 1 ต้นสามารถเก็บได้ 3รอบ โดยให้เก็บผลผลิตเมื่อข้าวเริ่มมีการตั้งท้องในปล้องที่สองของต้นข้าว หลังจากเก็บเกี่ยวรุ่นที่สามแล้ว ให้ทำการกดต้นข้าวฝังลงไปในดินในบ่อ เหมือนการไถกลบตอซังข้าวและปล่อยน้ำเข้าบ่อให้ท่วมพอดีเป็นการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเตรียมบ่อลงปลูกรอบต่อไป

      ผลผลิตใน 1 บ่อต่อรอบที่เก็บจะได้ปริมาณข้าวเปลือกบ่อละ 1.8 กิโลกรัม

สูตรน้ำหมักบำรุงนาข้าว

        วัตถุดิบ กล้วยสุก 5 กิโลกรัม ,มะละกอ 5 กิโลกรัม,ฟักทอง 5 กิโลกรัม สับผลไม้เป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับกากน้ำตาล 10 ลิตร หัวเชื้อ 5 ลิตร พด.2 1 ซอง ละลายน้ำ 150 ลิตร หมักนาน 3 เดือน อัตราส่วนในการใช้ น้ำหมัก 1 ขวดลิโพต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยเร่งการเจริญเติบโต

สูตรน้ำหมักกำจัดป้องกันไล่แมลง

        1.พริกสด 1 กิโลกรัม
        2.กระชาย 1 กิโลกรัม
        3.มะกรูดผ่าซีก 50 ผล
        4.กากน้ำตาล 5 ลิตร
        5.น้ำหมักหัวเชื้อ 5 ลิตร
        6.น้ำส้มควันไม้ 5 ลิตร

        นำส่วนผสมมาคลุกเคล้าคนให้เข้ากัน ผสมกากน้ำตาลที่ละลายกับน้ำ 20 ลิตรเอาไว้ ตามด้วยการนำ พด.7 มาละลายน้ำ 15นาที นำมาหมักรวมทั้งหมดในถัง หมักนานอย่างน้อย 20 วัน สามารถนำไปใช้ได้ น้ำหมัก 1 ขวดลิโพต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยกำจัดป้องกันไล่แมลงทุกชนิด


ที่มา : http://bettertree.blogspot.com/

การปรับปรุงคุณภาพลองกอง


            ลองกองนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างหนึ่งของภาคใต้ที่รองลงมาจากยางพารา แต่ในช่วงของปีที่ผ่านมาผลผลิตของลองกองที่มีออกขายอยู่ตามท้องตลาดมีน้อยมากสืบเนื่องมาจากสภาพอากาศที่ผ่านมาของภาคใต้ได้มีฝนตกอยู่ตลอดทั้งปีทำให้ลองกองไม่ติดดอก คุณเฝน เส็มอุมา ซึ่งเป็นวิทยากรในเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพของลองกองแนะนำวิธีการให้ดังนี้

การจัดการหลังจากที่ฝนแล้ง/ทิ้งช่วง :
        
         


           1. ให้เรากวาดโคนต้นลองกอง วิธีการกวาดคือให้เก็บใบไม้ที่ร่วงและหญ้าต่างๆที่ขึ้นอยู่บริเวณรอบทรงพุ่มของต้นลองกองให้หมดก็คือรอบทรงพุ่มจะต้องเห็นเป็นดิน

           2. หลังจากนั้นให้นับวันจากวันที่เรากวาดโคนต้นลองกองไปประมาณ 40 วัน ก็ให้รดน้ำสัก 3 วัน

           3. หลังจากนั้นให้สังเกตที่ใบลองกองถ้าใบเหลืองและเฉาแล้ว ก็ให้เราใส่ปุ๋ยเร่งดอกสูตร 8 - 24 - 24 ต้นละ 2 ½ กิโลกรัม

           4. ให้รดน้ำต่ออีก 7 วันแล้วหยุดการลดน้ำ ส่วนการให้น้ำก็ให้ต้นละ 30 นาทีต่อวัน

           5. หลังจากนั้นให้ดูการเริ่มแตกดอก แล้วให้รดน้ำอีก 1 อาทิตย์ แล้วก็ให้ดูดอกพอดอกเริ่มบานให้เราเลือกดอกที่จะเก็บไว้โดยให้ตัดช่อดอกที่อยู่ด้านบนกิ่งออกเหลือไว้เฉพาะช่อที่อยู่ใต้กิ่ง การไว้ช่อดอกก็ให้วัดเอาโดยวัดระยะห่างของช่อดอกประมาณ 20 เซนติเมตรต่อ 1 ช่อ

          6. เมื่อลองกองติดผลแล้วให้ใช้ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 21 ใส่บำรุงผลจนกว่าผลจะใหญ่ ให้ใส่เดือนละครั้งใส่ประมาณ 1 กระป๋องนม

         7. การเก็บเกี่ยวให้นับเวลา 6 เดือนจากการติดดอก และ 3 เดือนจากการติดผล

         8. พอเราตัดผลเสร็จแล้วก็ให้ใส่ปุ๋ยชีวภาพประมาณต้นละ 5-7 กิโลกรัม และก็ตัดแต่งกิ่งพร้อมกันไปด้วย สำหรับการดูแลเรื่องการให้น้ำในช่วงที่ลองกองติดผลมีเคล็ดลับง่ายๆคือให้ดูที่ช่อดอกในตอนเช้า ถ้ามีเหงื่อที่ช่อผลก็แสดงว่าลองกองสมบูรณ์เรื่องของน้ำยังเพียงพออยู่


ที่มา : http://bettertree.blogspot.com/


การบำรุงพื้นนาให้สมบูรณ์โดยใช้ถั่วพุ่ม


       


         หลังจากผ่านฤดูกาลทำนา เก็บเกี่ยวข้าวในนาหมดแล้ว เกษตรกรบางท่านปล่อยพื้นที่นาไว้โดยไม่ได้บำรุงพื้นที่นาเพื่อเตรียมไว้ในช่วงฤดูกาลหน้า แต่สำหรับป้าเจือ สิงโหพล เกษตรกรที่ทำนาในพื้นที่ อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งปลูกข้าวนาปรัง และข้าวพันธุ์ที่ปลูกนั้นคือ ข้าวพันธุ์เล็บนก พันธุ์สังข์หยด และข้าวพันธุ์หอมมะลิ  ป้าเจือบอกว่าโดยวิธีการของป้าเจือหลังจากเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวในแต่ละพื้นที่นาแล้ว จะตัดตอซังข้าวออกนำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพโดยใส่ไว้ในคอกวัวและคอกหมูหลุม

       ส่วนพื้นที่นานั้นจะมีวิธีการปรับสภาพดินให้ดีรอเตรียมไว้ปลูกข้าวในครั้งต่อไปโดยมีวิธีการปรับสภาพดินดังต่อไปนี้

      1.ทำการตัดตอซังข้าวออกจากพื้นนา (สามารถเอาตอซังข้าวไปใส่ในคอกวัวหรือหมูหลุมเพื่อทำเป็นปุ๋ยหมักได้)

      2.หว่านเมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่มลงไปในพื้นนา อัตราการหว่าน 3 กิโลกรัม / 1 ไร่

      3.หลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ทั่วพื้นที่นาแล้ว ให้ทำการไถกลบ

      4.หลังจากถั่วพุ่มที่หว่านงอกและโตขึ้นในระดับพอเริ่มตั้งดอกให้ทำการไถกลบถั่วพุ่มที่ปลูกในพื้นที่นาอีกครั้ง

      5.เมื่อไถกลบเรียบร้อยแล้วให้ปล่อยน้ำเข้านาให้น้ำขังในพื้นนารอช่วงที่จะทำนาครั้งต่อไป

      6.และเมื่อเราจะเริ่มทำนารอบต่อไปให้เราทำการไถนาพื้นที่นานั้นเพื่อทำเทือก พร้อมสำหรับการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว

         สำหรับวิธีการปรับสภาพดินโดยวิธีการข้างต้นนั้น ป้าเจือบอกว่าจะช่วยให้สภาพดินดี ปลูกข้าวครั้งต่อไปจะขึ้นงาม ต้นข้าวแข็งแรงสมบูรณ์



ที่มา : http://bettertree.blogspot.com/

วิธีการปลูกข้าวในอ่างซีเมนต์(บ่อส้วม)


       


        นายธนาวัฒน์  โชคกำทอง  หมอดินอาสาบ้านหนองกระโดน  ตำบลบึงอ้อ อ.ขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา   มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 24 ไร่   ทำเกษตรผสมผสาน ปลูกข้าวอินทรีย์  มันสำปะหลัง ยางพารา  ปลูกไม้ผล ผักสวนครัว เลี้ยงปลา  จนประสบความสำเร็จโดยเน้นแบบอินทรีย์อยู่ได้แบบพอเพียง  และล่าสุดคิดวิธีการปลูกข้าวอินทรีย์ในบ่อซีเมนต์  

 การเตรียมเมล็ดพันธุ์

         โดยนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะต้นกล้าในถาด แช่เมล็ดข้าวไว้ 2 คืน แล้วทำการดูดน้ำออก ให้สังเกตต้นข้าวจะแตกหน่อออกราก พอเพาะได้ 7 วัน ต้นกล้าข้าวจะสูง 2 นิ้ว ให้ใส่น้ำลงไปให้เห็นเฉพาะปลายข้าวที่โผล่ขึ้นมา พร้อมที่จะปลูก



ที่มา : http://bettertree.blogspot.com/

การปักชำ





     การปักชำ คือ การตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น ใบ กิ่ง ลำต้น ราก ออกจากต้นเดิม ไปเก็บไว้ในที่ที่มี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้ส่วนต่างๆดังกล่าวของพืชงอกรากและแตกยอด เจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ต่อไปได้
วิธีการปักชำ มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

         1. เลือกลักษณะของกิ่งที่จะปักชำ แล้วตัดกิ่งโดยลักษณะการตัดกิ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อไม้ ดังนี้ ถ้าเป็นกิ่งแก่ ควรตัดให้มีความยาว ป 6-10 ตัดให้เป็นแผลทำมุมเฉียง 45 ํ-60 ํ ด้านล่างของกิ่งต่ำกว่าข้อ เล็กน้อย แล้วด้านปลายของกิ่งเหนือกว่าข้อเล็กน้อย ป 1-2 ซม. ถ้าเป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ให้ตัดในลักษณะเดียวกัน แต่ให้มีใบติดอยู่ทางด้านปลายของกิ่งเล็กน้อย ถ้าเป็นกิ่งอ่อน ให้ตัดกิ่งยาวประมาณ 6-8 ตัดใบออก ป 1 ใน 3 ของกิ่ง
การเลือกและริดใบของกิ่งชำ

       2. นำส่วนโคนของกิ่งปักลงในวัสดุปักชำ ให้ลึกประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวของกิ่ง โดยให้รอยแผลตัด ด้านปลายของกิ่งเป็นแนวตั้งตรง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังบริเวณรอยแผลซึ่งจะช่วยลดการเน่าของกิ่ง ถ้าทำการปักชำกิ่ง ครั้งละเป็นจำนวนมาก ควรจัดระยะกิ่งที่ปักให้ห่างกันพอประมาณ ถ้าปักกิ่งชิดกันเกินไปจะทำให้กิ่งเน่าเสียได้ นำกิ่งไปปักชำในวัตถุที่เตรียมไว้

         3. รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 2-3 ครั้ง แต่อย่าให้วัสดุปักชำมีน้ำท่วมขัง หรือแฉะจนเกินไป และให้กิ่ง ปักชำได้รับแสงแดดรำไร เมื่อกิ่งปักชำออกรากสมบูรณ์และแข็งแรงดีแล้ว จึงย้ายออกจากแปลงปักชำไปเก็บไว้ในที่ร่มๆ ประมาณ 3-5 วัน จึงปลูกลงแปลงหรือกระถาง

ที่มาwinnah2.exteen.com/20090505/entry-8


การตัดชำ


   


การตัดชำ คือ การนำส่วนต่าง ๆ ของพืชพันธุ์ดี เช่น ใบ และ ราก มาตัดและปักชำในวัสดุเพาะชำ เพื่อให้ได้พืชต้นใหม่จากสวนที่นำมาตัดชำ แต่ในที่นี้จะขอแนะนำขั้นตอนการตัดชำกิ่งซึ่ง มีขั้นตอน ดังนี้
  
    1. ตัดโคนกิ่งให้ชิดข้อยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร โดยตัดเฉียงเป็นรูปปากฉลาม และตัดปลายบนให้เหนือตาประมาณ 1 เซนติเมตร

    2. ใช้มีดปลายแหลมกรีดบริเวณรอบโคนยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร ประมาณ 2 - 3 รอย

    3. ปักกิ่งชำลงในวัสดุเพาะชำ ลึกประมาณ 2.5 - 5 เซนติเมตร

    4. นำเข้าโรงอบพลาสติก หรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่

    5. ประมาณ 25 - 30 วัน กิ่งตัดชำจะแตกยอกอ่อน พร้อมออกราก เมื่อมีจำนวนมากพอ จึงย้ายปลูกต่อไป


ที่มา : http://www.oknation.net/blog/horti-asia/2012/11/30/entry-2


การเสียบยอด

    



    การเสียบยอด  คือ การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2 ต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโต เป็นต้นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

    1. ตัดยอดต้นตอให้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วผ่ากลางลำต้นของ ต้นตอให้ลึกประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร

    2. เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร

    3. เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบน และล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น

    4. คลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติก หรือนำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติก


    5. ประมาณ 5 - 7 สัปดาห์ รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรง เรือนเพื่อรอการปลูกต่อไป

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/horti-asia/2012/11/30/entry-2

การติดตา





     การติดตา คือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ การติดตาจะมีวิธีการทำ 2 วิธี คือ วิธีการติดตาแบบลอกเนื้อไม้ และแบบไม่ลอกเนื้อไม้ ซึ่งในทีนี้จะแนะนำเฉพาะขั้นตอน การติดตาแบบลอกเนื้อไม้ ดังนี้

    1. เลือกต้นตอในส่วนที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาล แล้วกรีดต้นตอจากบนลงล่าง 2 รอย ห่างกันประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นรอบวงของต้นตอ ความยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร

    2. ตัดขวางรอยกรีดด้านบน แล้วลอกเปลือกออกจากด้านบนลงด้านล่าง ตัดเปลือก ที่ลอกออกให้เหลือด้านล่างยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

    3. เฉือนแผ่นตายาวประมาณ 7 - 10 เซนติเมตร ลอกเนื้อไม้ออกแล้วตัดแผ่นตา ด้านล่างทิ้ง

    4. สอดแผ่นตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น


    5. ประมาณ 7 - 10 วัน จึงเปิดพลาสติกออก แล้วพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ ออกมา ทิ้งไว้ประัมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงตัดยอดต้นเดิมแล้วกรีดพลาสติกออก

การทาบกิ่ง


   



     การทาบกิ่ง   คือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

    1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์เพศปราศจากโรคและแมลง

    2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1 - 2 นิ้ว

    3. เฉือนต้นตอเป็นรูปปากฉลาม

    4. ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดี พันพลาสติกให้แน่น แล้วมัดต้นตอ กับกิ่งพันธุ์ด้วยเชือกหรือลวด

   5. ประมาณ 6 - 7 สัปดาห์ แผลจะติดกันดี รากตุ้มต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มมีสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอ จึงจะตัดได้


   6. นำลงถุงเพาะชำ พร้อมปักหลังค้ำยัน ต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม 


ที่มา : http://www.oknation.net/blog/horti-asia/2012/11/30/entry-2

การตอนกิ่ง






  การตอนกิ่ง  คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

   1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง

   2. ควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ ออก

   3. นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาด ๆ อัดลงในถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล

   4. เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอจึงตัดกิ่งตอนได้

    5. นำกิ่งตอนไปชำในภาชนะ กระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป


ที่มา : http://www.oknation.net/blog/horti-asia/2012/11/30/entry-2