วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

มุมมองภาพเเอนิเมชั่น


1. ภาพไกลมาก หรือ Extreme Long Shot (EXS)
เป็นขนาดภาพที่กว้างไกลมาก ขนาดภาพนี้มักใช้ในฉากเปิดเครื่องหรือเริ่มต้นเพื่อบอกสถานที่ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน ปกติฉากที่เปิดโดยใช้ภาพขนาดนี้มักมีขนาดกว้างใหญ่ เช่นมหานครซึ่งเต็มไปด้วยหมู่ตึกสูงเสียดฟ้า, ท้องทะเลกว้างสุดลูกหูลูกตา, ขุนเขาสูงตระหง่าน, ฉากการประจันหน้ากันในสงคราม, ฉากการแสดงมหกรรมคอนเสิร์ต ฯลฯ จุดเด่นของภาพ Extreme Long  Shot อยู่ตรงความยิ่งใหญ่ของภาพ  ซึ่งสามารถสร้างพลังดึงดูดคนดูไว้ได้เสมอ
2. ภาพไกล หรือ Long Shot (LS)
 เป็นขนาดภาพที่ย่อมลงมาจากภาพ Extreme  Long  Shot คือ กว้างไกลพอที่จะมองเห็นเหตุการณ์ โดยรวมทั้งหมดได้  เมื่อดูแล้วรู้ได้ทันทีว่าในฉากนี้ ใครทำอะไร  อยู่ที่ไหนกันบ้างเพื่อให้คนดูไม่เกิดความสับสนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวละครในฉากนั้นๆ ถือเป็นขนาดภาพที่เหมาะกับการเปิดฉาก หรือเปิดตัวละคร  เพื่อให้เห็นภาพรวม  ก่อนที่จะนำคนดูเข้าไปใกล้ตัวละครมากขึ้นในช็อต (Shot) ต่อไปแต่ในขณะที่เหตุการร์ดำเนินไป  เราก็ยังสามารถใช้ภาพ Long Shot ตัดสลับกับภาพขนาดอื่นๆได้เช่นกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในเรื่อง  ถ้าเป็นช่วงที่ต้องการแสดงให้เห้ท่าทางของตัวละครมากกว่าอารมณ์สีหน้าก็ควรใช้ภาพขนาดนี้
3. ภาพปานกลาง หรือ Medium Shot (MS)
เป็นภาพที่คนดูจะไม่ได้เห็นตัวละครตลอดทั้งร่างเหมือนภาพ Long Shot แตจะเห็นประมาณครึ่งตัว  เป็นขนาดภาพที่ทำให้รายละเอียดของตัวละครมากยิ่งขึ้น  เหมือนพาคนดูก้าวไปใกล้ตัวละครให้มากขึ้น ภาพขนาดนี้ถูกใช้บ่อยมากกว่าภาพขนดอื่นๆ เพราะสามารถให้รายละเอียดได้มากไม่น้อยเกินไปคือคนดูจะได้เห็นทั้งท่าทางของตัวละคร  และอารมณ์ที่ฉายบนสีหน้าไปพร้อมๆกัน
4. ภาพใกล้หรือ Close up (CU)
เป็นขนาดภาพที่เน้นใบหน้าตัวละครโดยเฉพาะ เพื่อแสดงอารมณ์ของตัวละครในขณะนั้นว่ารู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ภาพขนาดนี้มักมีการเคลื่อนไหวน้อย เพื่อให้คนดูเก็บรายละเอียดได้ครบถ้วน


ที่มา : http://www.kanlayanee.ac.th/animation/web/picture.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น